19 กุมภาพันธ์ 2502 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ
สังกัดกรมอาชีวศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตช่างฝีมือที่เน้นการปฏิบัติและประสบการณ์จริง
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เทคนิคไทย-เยอรมัน” ต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือ
ทางวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันฉบับแรกในวันที่ 16 มีนาคม 2502
1 ตุลาคม 2507 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือขึ้นเป็น
“วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ”
23 เมษายน 2514 มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ให้รวมวิทยาลัย
เทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกรมอาชีวศึกษาเข้าด้วยกัน
เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง และได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า”
ให้เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษา ทำการวิจัย
ให้บริการวิชาการและส่งเสริมทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และครุศาสตร์อุตสาหกรรม รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปะ
และวัฒนธรรมของชาติ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 วิทยาเขต วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ
ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ”
28 มิถุนายน 2517 มีประกาศแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 กำหนดให้สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้า เป็นส่วนราชการในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 5 พฤศจิกายน 2517 มีพระราชกฤษฎีกา
แบ่งส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ และจัดตั้งคณะ 2 คณะ
ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
8 พฤษภาคม 2524 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และสำนักพัฒนาเทคโนโลยีทาง
การศึกษาเพื่อการศึกษาด้านเทคนิค (สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษาในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
19 กุมภาพันธ์ 2529 มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบัน
พระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2528 โดยให้ แยกสถาบัน
เทคโนโลยี พระจอมเกล้าออกเป็นสถานศึกษา 3 แห่ง เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร งาน ของแต่ละสถาบันวิทยา
เขตพระนครเหนือ ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” มี วัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษา ทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตบุคลากรทำหน้าที่เป็นช่างเทคนิคนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี วิศวกร ครูช่าง
และผู้บริหารในสถาบันการศึกษา ธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ
กำลังคนในการพัฒนาประเทศ 21 พฤษภาคม 2529 มีพระราชกฤษฎีการ จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
14 พฤษภาคม 2531 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงานในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดังนี้
1.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (เปลี่ยนชื่อจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์)
2.คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (จัดตั้งใหม่โดยยกฐานะภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์)
3.สำนักงานอธิการบดี (เปลี่ยนจากสำนักงานรองอธิการบดี วิทยาเขตพระนครเหนือ)
4.สำนักหอสมุดกลาง (ยกฐานะจากงานห้องสมุด กองบริการการศึกษา)
22 กรกฎาคม 2534 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม
22 มกราคม 2536 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยี
ไทย-ฝรั่งเศส เป็นหน่วยงานระดับคณะ
สถาบันได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคที่จังหวัดปราจีนบุรี ในนาม "สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี" ตั้งอยู่ที่ตำบลเนินหอม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
มีคณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรมเป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้นที่ สจพ. ปราจีนบุรี
1 ตุลาคม 2507 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือขึ้นเป็น
“วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ”
2 กรกฎาคม 2544 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
12 มิถุนายน 2545 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
16 มีนาคม 2548 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร
ไทย-เยอรมัน เป็นหน่วยงานระดับคณะ
12 มิถุนายน 2545 สภาสถาบันอนุมัติให้จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
21 พฤศจิกายน 2550 สภาสถาบันอนุมัติยกฐานะศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสำนักวิจัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานระดับคณะ 27 ธันวาคม 2550 มีประกาศพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2550 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าพระนครเหนือเปลี่ยนสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ” เป็น
มหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็น
อิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้นโดยการจัดการศึกษาระดับศึกษาจะคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ
10 กุมภาพันธ์ 2553 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
4 สิงหาคม 2553 สภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ 4/2553 เห็นชอบในหลักการที่มหาวิทยาลัยจะขยายการ
ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปยังภูมิภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ในนาม "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง" ณ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
13 มีนาคม 2556 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้ง สถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนา
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย-เยอรมัน เป็นหน่วยงานระดับคณะ
16 ตุลาคม 2556 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ ณ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง ได้แก่
1.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานระดับคณะ
2.คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานระดับคณะ
3.คณะบริหารธุรกิจ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
23 เมษายน 2557 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ เป็นหน่วยงานระดับคณะ
6 พฤษภาคม 2558 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้ง คณะพัฒนาธุรกิจและ
อุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานระดับคณะ
24 มิถุนายน 2558 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้ง คณะบริหารธุรกิจและ
อุตสาหกรรมบริการ เป็นหน่วยงานระดับคณะ